วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

6 ไม้ตี

ไม้ตีที่ 1
ไม้ตีที่ 2
ไม้ตีที่ 3
ไม้ตีที่ 4
ไม้ตีที่ 5
ไม้ตีที่ 6

12 ไม้รำ

1. ไม้รำที่ 1 ลอยชาย ทิศในการเดิน เดินเฉียงแบบสลับฟันปลาเริ่มจากท่าคุมรำ
2. ไม้รำที่ 2 ควงทัด ทิศทางในการเดินสลับปลาจากท่าคุมรำ
3. ไม้รำที่ 3 เสือลากหาง ทิศทางในการเดิน เดินตรงไปข้างหน้าเริ่มจากท่าคุม
4. ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ทิศทางในการเดิน เดินเฉียงสลับฟันปลา เริ่มจากท่าคุม
5.ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
6.ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
7.ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์ ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
8.ไม้รำที่ 8 สอยดาว ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
9.ไม้รำที่ 9 ควงแตะ ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
10.ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า, กลับหลังหัน, ขวาหัน เริ่มจากท่าคุมรำ
11.ไม้รำที่ 11 ลดล่อ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้าโดยการพลิกตัวขวา – ซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ
12.ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน ทิศทางเดิน เดินสลับฟันปลาเฉียงขวา เฉียงซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติความเป็นมาของกระบี่กระบอง

จากการที่ในสมัยโบราณ มีศึกสงครามอยู่เป็นเนืองๆ รูปแบบการต่อสู้ในสม้ยก่อนเป็นแบบประชิดตัวตะลุมบอน อาวุธที่ใช้จึงเป็น ดาบ กระบี่ โล่ เป็นต้น ทหารไทยจึงต้องมีการฝึกฝนอาวุธเหล่านี้เพื่อให้เกิดความชำนาญอย่างสม่ำเสมอ แต่หากใช้อาวุธจริงๆมาทำการฝึกฝน อาจจะมีการพลาดพลั้งถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้ จึงมีการจำลองเครื่องอาวุธดังกล่าวขึ้นโดยใช้ไม้ หรือหวาย หรือหนังวัว หนังควาย เพื่อนำมาใช้ในการฝึกซ้อมแทนอาวุธจริง
ต่อมาบ้านเมืองสงบสุข ห่างหายจากการทำสงคราม การฝึกฝนของทหารก็ขาดการเอาจริงเอาจังเท่าที่ควร จึงมีการดัดแปลงการฝึกซ้อมต่อสุ้เสียใหม่ ให้สนุกสนานมากขึ้น โดยการจัดให้มีการแข่งขันประลองความสามารถกัน โดยใช้อาวุธจำลอง มีการกำหนดระเบียบ แบบแผนขึ้น เรียกว่า "ยุทธกีฬา" และต่อมาได้เพิ่มท่าร่ายรำ และสืบสานต่อกันมาจนเป็นประเพณีวัฒนธรรม และการละเล่น ในปัจจุบัน ได้ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมทางพลศึกษาที่มีคุณค่าสูง

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

การขึ้นพรหมยืน

การขึ้นพรหมยืน

• พรหมยืน ให้หันหน้าเข้าหาคู่พรหมนั่ง วางกระบี่ปลายชี้ไปข้างหน้าห่างกึ่งกลางเข่าทั้งสองพอประมาณ
• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง• ประณมมือ วันทา แล้วหยิบกระบี่ทัดหูเฉียง 45 องศา ตั้งเข่าซ้าย 


• จ้วงกระบี่ด้านหน้า ลุกขึ้นยืนหันทางขวา 90 องศา หงายมือโกร่งอยู่ด้านบนกระบี่ เฉียง 45 องศารำข้างเสมอคิ้ว

• ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า เปลี่ยนกระบี่ทัดหู ลากเท้าขวาไปข้างหน้าเปลี่ยนหงายกระบี่เฉียง 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้ายยกเข่าซ้ายจ้วงกระบี่พร้อมก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเท้าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวามาทางด้านขวา หันหน้าไปทางซ้ายมือ 90 องศา ท่าทัดหู 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่ พร้อมวางเท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่พร้อมวางเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา หงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว ควง 2 รอบ ยืนคุมรำ เสร็จแล้ว ตรง

การขึ้นพรหมนั่ง

การขึ้นพรหมนั่ง
• พรหมนั่งให้นั่งหันขวาเข้าหาคู่นั่งพรหมยืน
• กระบี่วางด้านข้างกายทางซ้าย• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง• ประณมมือวันทา แล้วหยิบกระบี่
• เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย โล้ตัวไปข้างหน้า รำหน้า 

• ยกกระบี่ข้ามศีรษะจัดอยู่ระดับเอวขวาศอกแนบชิดลำตัวเป็นมุมฉาก เข้าขวาตั้งมือซ้ายจีบอก
• หมุน 180 องศา กลับทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้ายรำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้ายพร้อมวาดกระบี่ออกนั่งคุมรำ


• โล้ตัวไปด้านหน้า รำหน้า หันทางขวา 90 องศา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย นุ่งคุมรำ



• โล้ตัวไปด้านหน้า ลุกขึ้นยืน ลากเท้าชิดขวาเท้าซ้าย ยกเท้าซ้าย รำหน้า วางเท้าหมุน 180 องศาทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้างระดับคิ้ว ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวา พร้อมวาดกระบี่ออกทางขวา วางเท้าอยู่ในท่ายืนคุมรำ (จะหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้)